หลักสูตรนี้เน้นวิธีการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน เพื่อให้หัวหน้างาน นายจ้าง ลูกจ้างทำงานร่วมกันภายใต้กฎหมายแรงงาน โดยไม่มีการเอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน
หลักการและเหตุผล
ในการประกอบกิจการใดๆนั้น ผู้บริหารหรือหัวหน้างาน รวมถึงผู้ที่มีหน้าที่ดูแลการจ้างงาน จำเป็นต้องรู้
เกี่ยวกับกฎหมายแรงงานเบื้องต้น เพราะเมื่อใดที่เกิดการจ้างงาน ลูกจ้างและนายจ้างจะต้องมีการกำหนดกฎเกณฑ์ระเบียบวิธีการปฏิบัติ เพื่อให้พนักงานมีความปลอดภัย และการสร้างความเป็นธรรมร่วมกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง
ฉะนั้นหลักสูตรนี้เน้นวิธีการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน เพื่อให้หัวหน้างาน นายจ้าง ลูกจ้างทำงานร่วมกันภายใต้กฎหมายแรงงาน โดยไม่มีการเอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน และช่วยกันสร้างสรรค์การทำงานร่วมกันให้เป็นไปตามเป้าหมายด้วยหลักและวิธีการที่เข้าใจกันมากขึ้น
วัตถุประสงค์
หัวข้อกิจกรรมและการบรรยายในหลักสูตร
- ภาพรวมของกฎหมายแรงงาน
- การจ้างงานและคุ้มครองแรงงาน
- อัปเดตกฎหมายแรงงาน (Update 2566)
- การจ้างเหมาค่าแรง (Outsource) และการรับเหมาช่วง แตกต่างอย่างไรกับพนักงานประจำ
- ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน และ
- ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
- วันเวลาทำงาน วันหยุด วันลา ค่าจ้าง สวัสดิการ และผลประโยชน์
- เวลาทำงานปกติ เวลาพัก และการทำงานล่วงเวลา
- วันหยุด 3ประเภท และวันลา 7 ประเภท
- อัตราค่าล่วงเวลา และการคำนวณค่าล่วงเวลา
- ลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุด
- หลักการจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด การใช้แรงงานหญิงและแรงงานเด็ก
- แรงงานสัมพันธ์ วินัย และการลงโทษทางวินัย
- ประเภทของวินัย หลักการและขั้นตอนการลงโทษทางวินัย
- การออกหนังสือเตือน และการพักงาน
- ประเภทของการสิ้นสุดสัญญาจ้างแรงงาน และค่าชดเชย
- การเลิกจ้าง การลาออก และการเกษียณอายุ
- หลักเกณฑ์การบอกกล่าวล่วงหน้า & ข้อยกเว้น
- เงิน 3 ประเภทที่ต้องจ่ายกรณีนายจ้างเลิกจ้าง
- หลักเกณฑ์การจ่ายค่าชดเชย อัตรา และการคำนวณ
- การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม และ
- การกระทำอันไม่เป็นธรรม
- ข้อระมัดระวังที่นายจ้างมักจะปฏิบัติไม่ถูกต้อง
- กรณีศึกษา
"The hardest thing in the world to understand is the income tax."
หลักสูตรนี้เหมาะกับใคร
ระยะเวลาการอบรม
หลักสูตร 1 วัน
เวลา 09:00 น. – 16:00 น.
(พัก 3 ช่วงอาหารว่าง เช้า – บ่ายและอาหารกลางวัน 1 ชม.)