หลักการและเหตุผล

กระบวนการวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญ ในการป้องกันปัญหาความล้มเหลวในส่วนของขั้นตอนการออกแบบผลิตภัณฑ์และการออกแบบกระบวนการสำหรับผลิตภัณฑ์ เนื้อหาในหลักสูตรของ FMEA จะช่วยให้องค์กร มีความรู้พื้นฐานที่สำคัญในการเตรียมการเพื่อวิเคราะห์ความบกพร่องและผลกระทบอย่างเป็นขั้นตอน ตั้งแต่ต้นจนจบในขั้นตอนการออกแบบผลิตภัณฑ์และการออกแบบควบคุมกระบวนการอย่างมีประสิทธิผล

วัตถุประสงค์

  • เพื่อให้ผู้ฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบ PFMEA ตามคำแนะนำของ AIAG & VDA First Edition Issued June 2019

  • เพื่อให้ผู้อบรมสามารถจัดทำ FMEA ที่ช่วยป้องกันไม่ให้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดส่งมอบสู่ลูกค้า

หัวข้อกิจกรรมและการบรรยายในหลักสูตร

  • หลักการและแนวคิดพื้นฐานของ FMEA
  • การเปลี่ยนแปลง FMEA4th เป็น PFMEA AIAG & VDA 1st
  • การแบ่งประเภทของ FMEA
  • 7 ขั้นตอนการจัดทำ FMEA
  • แนวคิดของ Function Analysis และ Failure Analysis
  • แนวคิดของการวิเคราะห์ความล้มเหลวและผลกระทบ สำหรับการออกแบบผลิตภัณฑ์ (DFMEA)
  • แนวคิดของการวิเคราะห์ความล้มเหลวและผลกระทบ สำหรับกระบวนการผลิต (PFMEA)
  • การประเมินคะแนนความรุนแรง (Severity)
  • การประเมินความเสี่ยง
  • การประเมินโอกาส (Occurrence)
  • การประเมินการตรวจจับ (Detection)
  • การจัดการกับลำดับความเสี่ยงการดำเนินการ (Action Priority)
  • Workshop

“Goals give us direction. They put a powerful force into play on a universal, conscious, and subconscious level. Goals give our life direction.”

- Melody Beattie

หลักสูตรนี้เหมาะกับใคร

  • วิศวกร หัวหน้างานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต

ระยะเวลาการอบรม

หลักสูตร 1 วัน
เวลา 09:00 น. – 16:00 น.
(พัก 3 ช่วงอาหารว่าง เช้า – บ่ายและอาหารกลางวัน 1 ชม.)

อาจารย์ผู้สอน

<a href="https://www.itrc.co.th/category/instructors/viboon-pongpornsup/" title="Viboon Pongpornsup">Viboon Pongpornsup</a>
Speaker on Statistics and Quality Management
  • วิทยากรบรรยายด้านสถิติและการบริหารคุณภาพ
    - สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น (สสท)
    - สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
  • อาจารย์พิเศษวิชาการการควบคุมและประกันคุณภาพ
    - ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการ อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อาจารย์พิเศษวิชาการประกันคุณภาพ
    - วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหาร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย